วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ภูมิศาสตร์



ภูมิศาสตร์ ( geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่น ๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง
ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิดปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง
                   

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ 
ปรากฏการณ์ หรือวัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา
  • สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
  • สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
แสดงลงบนแผนที่ ด้วย
  • จุด 
  • เส้น 
  • พื้นที่ 
  • ตัวอักษร
อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฏ ด้วย
  • สี
  • สัญลักษณ์ 
  • ข้อความบรรยาย 
ที่ตั้ง
 ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์จะต้องแสดงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งสัมพันธ์ของสถานที่หรือสิ่งต่างๆ บนโลก


                                  

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์  หมายถึง   สิ่งที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อตรวจสอบและบันทึกข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ 
เครื่องมือภูมิศาสตร์ที่สำคัญ ได้แก่ แผนที่ ลูกโลก เข็มทิศ รูปถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม และ
เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 
1.      แผนที่ 
เป็รสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะที่ตั้งของสิ่งต่างๆที่อยู่บนพื้นผิวโลก โดยการย่อส่วน กับใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งต่างๆลงในวัสดุพื้นแบนราบ
ความสำคัญของแผนที่   แผนที่เป็นที่รวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆตามชนิดของแผนที่ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากแผนที่ได้ตามวัตถุประสงค์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเห็นพื้นที่จริง แผนที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลกได้อย่างกว้างไกล ถูกต้อง และประหยัด 
ชนิดของแผนที่ แบ่งตามการใช้งาน ได้ 3 ชนิด ได้แก่
            1. แผนที่ภูมิประเทศ เป็นแผนที่แสดงความสูงต่ำของพื้นผิวโลก โดยใช้เส้นชั้นความสูงบอกค่าความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง แผนที่ชนิดนี้เป็นพื้นฐานที่จะนำไปทำข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับแผนที่
            2. แผนที่เฉพาะเรื่อง เป็นแผนที่ที่แสดงลักษณะใดลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ ได้แก่ แผนที่รัฐกิจแสดงเขตการปกครองหรืออาณาเขต แผนที่ แสดงอุณหภูมิของอากาศ แผนที่แสดงปริมาณน้ำฝน แผนที่แสดงการกระจายตัวของประชากร แผนที่เศรษฐกิจ แผนที่ประวัติศาสตร์ เป็นต้น
            3. แผนที่เล่ม เป็นแผนที่ที่รวบรวมเรื่องต่างๆ ทั้งลักษณะทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ ทางสังคม ทางด้านประชากร และอื่นๆไว้ในเล่มเดียวกัน
องค์ประกอบของแผนที่
1. สัญลักษณ์
2. มาตราส่วน
3. ระบบอ้างอิงในแผนที่ ได้แก่ เส้นขนานละติจูด และเส้น เมริเดียน
4. พิกัดภูมิศาสตร์เป็นตำแหน่งที่ตั้งของจุดต่างๆ เกิดจากการตัดกันของเส้นขนานละติจูดและเส้น
    เมริเดียน
ประโยชน์ของแผนที่
1. ช่วยให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวโลก เพราะแผนที่ได้จำลองลักษณะของพื้นผิวโลกไว้
2. ประโยชน์ในการศึกษาด้านต่างๆเช่น ลักษณะภูมิประเทศ ด้านธรณีวิทยา สมุทรศาสตร์
               และการประมง ด้านทรัพยากรน้ำ ด้านป่าไม้ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการวางผังเมือง เป็นต้น
2.      ลูกโลก  
เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้เห็นภาพรวมว่าโลกมีรูปร่างลักษณะอย่างไร ลูกโลกเป็นสิ่งจำลองที่คล้ายโลกมากที่สุด
องค์ประกอบของลูกโลก 
1. เส้นเมริเดียน เป็นเส้นสมมติที่ลากจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ ซึ่งกำหนดให้มีค่าเป็น 0 องศาที่
     เมืองกรีนิช ประเทศอังกฤษ
2. เส้นขนาน เป็นเส้นสมมติที่ลากไปรอบโลกในแนวนอน ทุกเส้นจะขนานกับเส้นศูนย์สูตร
การใช้ลูกโลก ลูกโลกใช้ประกอบคำอธิบายตำแหน่งหรือพื้นที่ของส่วนต่างๆของโลกโดยประมาณ
3 เข็มทิศ เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการหาทิศทางของจุดหรือวัตถุ โดยมีหน่วยเป็นองศาเปรียบเทียบกับ
จุดเริ่มต้น อาศัยแรงดึงดูดระหว่างสนามแม่เหล็กขั้วโลกกับเข็มแม่เหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด  
เข็มแม่เหล็กจะแกว่งไกวอิสระในแนวนอน เพื่อให้แนวเข็มชี้อยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ไปยังขั้วแม่เหล็กโลก
ตลอดเวลา
ประโยชน์ของเข็มทิศ 
ใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ได้แก่ การเดินเรือทะเล เครื่องบิน การใช้เข็มทิศจะต้องมีแผนที่ประกอบ และต้องหาทิศเหนือก่อน   เข็มทิศบางประเภทออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับวัดมุมเอียงของหิน หรือความลาดชันของพื้นที่ได้ด้วย เช่น เข็มทิศบรุนตัน
      3 .  รูปถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียม   เป็นรูปหรือข้อมูลตัวเลขที่ได้จากการเก็บข้อมูลภาคพื้นดินจากกล้องที่ติดอยูกับยานพาหนะ เช่น เครื่องบิน หรือดาวเทียม
ประโยชน์ของรูปถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียม  
รูปถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมให้ข้อมูลพื้นผิวของเปลือกโลกได้เป็นอย่างดี ทำให้เห็นภาพรวมของการใช้พื้นที่และ   การเปลี่ยนแปลงต่างๆ   ตามที่ปรากฏบนพื้นโลก เหมาะแก่การศึกษาทรัพยากรผิวดิน เช่น ป่าไม้ การใช้ประโยชน์จากดิน หิน และแร่
4. เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์   เทคโนโลยีที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์ คือ
1. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( GIS ) หมายถึง การเก็บ รวบรวม และบันทึกข้อมูลทางภูมิศาสตร์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลเล่านี้สามารถปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องทันสมัย และสามารถแสดงผลหรือนำออกมาเผยแพร่เป็นตัวเลข สถิติ รูปภาพ ตาราง แผนที่ และข้อความทางหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือพิพม์ออกมาเป็นเอกสารได้ 
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) คือ ช่วยให้ประหยัดเวลาและงบประมาณ ช่วยให้เห็นภาพจำลองพื้นที่ชัดเจนทำให้การตัดสินใจวางแผนจัดการและพัฒนาพื้นที่ มีความสะดวกและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่นั้น และช่วยในการปรับปรุงแผนที่ให้ทันสมัย
2. ระบบพิกัดพื้นผิวโลก ( GPS) เป็นเครื่องมือรับสัญญารพิกัดพื้นผิวโลก อาศัยระยะทางระหว่างเครื่องรับดาวเทียม GPS บนพื้นผิวโลกกับดาวเทียมจำนวนหนึ่งที่โคจรอยู่ในอวกาศ และระยะทางระหว่างดาวเทียมแต่ละดวง ปัจจุบันมีดาวเทียมชนิดนี้อยู่ประมาณ 24 ดวง เครื่องมือรับสัญญาณ
มีขนาดและรูปร่างคล้ายโทรศัพท์มือถือ เมื่อรับสัญญาณจากดาวเทียมแล้วจะทราบค่าพิกัด ณ จุดที่วัดไว้ โดยอาจจะอ่านค่าเป็นละติจูดและลองจิจูดได้ ความคลาดเคลื่อนขึ้นอยู่กับชนิดและราคาของเครื่องมือ
ประโยชน์ของเครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาภูมิศาสตร์ จะคล้ายกับการใช้ประโยชน์จากแผนที่สภาพภูมิประเทศและแผนที่เฉพาะเรื่อง เช่น จะให้คำตอบว่าถ้าจะเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในแผนที่จะมีระยะทางเท่าใด ถ้าทราบความเร็วของรถจะทราบว่าใช้เวลานานเท่าใด บางครั้งข้อมูลมีความสับสนมาก เช่น ถนนบางช่วงมีสภาพถนนไม่เหมือนกัน คือบางช่วงเป็นถนนกว้างที่สภาพผิวถนนดี บางช่วงเป็นถนนลูกรัง บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้การคิดคำนวณเวลาเดินทางลำบากแต่ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะช่วยให้คำตอบได้ บางครั้งระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร